โครงการพัฒนาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)


     สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และโรงเรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)” โดยการนำของรองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานกรรมการมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ช่างศรี เลขานุการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการทำงานในภาคปฏิบัติของโรงเรียนในโครงการฯ จึงจัดให้มีการดำเนินกิจกรรมการปฏิบัติงานของผู้ประสานงานโรงเรียน (School coordinator) เพื่อเข้าไปขับเคลื่อนกระบวนการทำงานร่วมกันของครูโดยใช้นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพครูจากประเทศญี่ปุ่นที่เรียกว่า การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เพื่อพัฒนากระบวนการสอนของครูแบบใหม่โดยใช้ วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เพื่อพัฒนาบุคลลากรในโรงเรียน ทั้งผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน ซึ่งโรงเรียนที่อยู่ใน “โครงการพัฒนาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)” เป็นระยะเวลา 1 เดือน ทั้งหมด 4 โรงเรียน ได้แก่ 1.โรงเรียนบ้านโนนคูณ 2.โรงเรียนบ้านโพนข่า (วินิตวิทยาคาร) 3.โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด 4.โรงเรียนบ้านรุงสมบูรณ์ โดยการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (Lesson Study and Open Approach) ซึ่งทางศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาได้ปรับใช้และพัฒนา ตั้งแต่ปี 2542

     สำหรับโครงการดังกล่าวได้มอบหมายให้
นางสาวจิตรลดา ใจกล้า นักวิจัยประจำมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด เข้าไปดำเนินการในฐานะผู้ ประสานงานโรงเรียน (School Coordinator) ประจำที่โรงเรียนบ้านโพนข่า (วินิตวิทยาคาร)
นางสาวเข็มทอง คตมรคา นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา เข้าไปดำเนินการในฐานะผู้ประสานงานโรงเรียน (School Coordinator) ประจำที่โรงเรียนบ้านรุงสมบูรณ์
นายณัฐวัตร สุดจินดา นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา เข้าไปดำเนินการในฐานะผู้ประสานงานโรงเรียน (School Coordinator) ประจำที่โรงเรียนบ้านโนนคูณ
อาจารย์นิศากร บุญเสนา อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าไปดำเนินการในฐานะผู้ประสานงาน โรงเรียน (School Coordinator) ประจำที่โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด

     เป็นเวลาหนึ่งเดือน ตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 27 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยการดำเนินการในช่วงหนึ่ง สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ประสานงานโรงเรียนพร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน บุคลากรภายในโรงเรียน และนักศึกษาปฏิบัติ การสอนในสถานศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันสร้างระบบการทำงานร่วมกันของครูภายในโรงเรียนตาม แนวทางของการศึกษาชั้นเรียน โดยการจัดตารางสอน ตารางสังเกต การกำหนดวันร่วมกันเขียนแผน และสะท้อนผล เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วผู้ประสานงานโรงเรียนและทีมการศึกษาชั้นเรียนยังได้ร่วมกันสังเกตชั้นเรียน และร่วมกันจัด ทำ“kyozaikenkyu” ใน “การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)" และ " วิธีการแบบเปิด (Open Approach)"

 ภาพ/ข่าว: สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น